วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 5 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด(พ.ศ.2558)


พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

(การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)

     1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
     2. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
     3. สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้

(1) คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ

(2) คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี

(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว

(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้

(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ

(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย

(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง


ประการแรก มาดูเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ก่อนว่า ละเมิดลิขสิทธ์คืออะไร ตามภาพนี้ก็คือ การนำเอาภาพ บทความ คลิป หรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลงานของคนอื่นมา ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และเผยต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน (หมายความว่า ถ้าได้รับการอนุญาตก็ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์)


บทลงโทษ ค่อนข้างแรง ค่าปรับสูง โดยเฉพาะถ้าเอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ก็จะยิ่งสูงขึ้น


นี่คือคำตอบของคนที่ใช้ Facebook บ่อยๆ แชร์ไปเถอะถ้าเราไม่ได้นำไปทำธุรกิจ หรือขายสินค้า แต่ต้องบอกที่มาที่ไปหน่อยนะครับว่า รูป บทความ ของใครจากไหน


เรื่องการแปะคลิป เช่น ใน Youtube ต้องดูว่าเขาอนุญาตหรือไม่ ทางที่ดี ขออนุญาตก่อน หรือไม่ก็ capture รูปมาลงแล้วใส่ลิงค์ไปที่คลิปเขาจะดีกว่า


ถ้าเป็นคลิปจาก Facebook เอาไปแชร์ก็ต้องให้เครดิต



          สำหรับเนื้อหาที่แปลจากต่างประเทศ ถ้าเป็นข่าว ไม่ผิด แต่ถ้าเป็นบทความ แปลคำต่อคำ ถือว่าผิด แต่เรียบเรียงใหม่ไม่ผิด และเขียนใน บล็อกส่วนตัว ไม่มีแบนเนอร์ไม่ผิด แต่ถ้าติดแบนเนอร์ มีรายได้ ถือว่าใช้ในเชิงพาณิชย์ถือว่าผิด




เครดิต

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน



1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ

          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้

     1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
     2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
     3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
     4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
     5. งานอดิเรกของนักเรียน
     6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์

ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

     1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
     2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
     3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
     4. มีเวลาเพียงพอ
     5. มีงบประมาณเพียงพอ
     6. มีความปลอดภัย


2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล

          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า

     1. จะทำ อะไร
     2. ทำไมต้องทำ
     3. ต้องการให้เกิดอะไร
     4. ทำอย่างไร
     5. ใช้ทรัพยากรอะไร
     6. ทำกับใคร
     7. เสนอผลอย่างไร

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน




4. การลงมือทำโครงงาน

          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้

     4.1 การเตรียมการ
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ

     4.2 การลงมือพัฒนา
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน

     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย

     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย

     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้


5. การเขียนรายงาน

          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้

     5.1 ส่วนนำ
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ

     5.2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน

     5.3 หลักการและทฤษฎี
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย

     5.4 วิธีดำเนินการ
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน

     5.5 ผลการศึกษา
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก

     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย

     5.7 ประโยชน์
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย

     5.8 บรรณานุกรม
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย

     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ

6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน 

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 2 ประเภทโครงงานคอมพิวเตอร์


ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

" คอมพิวเตอร์ " เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)


1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

         เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
        โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ


2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)

         เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D


3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)

         เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น


4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

         เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงใน ชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

         เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ



กิจกรรมที่ 1 โครงงานคอมพิวเตอร์


โครงงานคอมพิวเตอร์

           หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้
         
          จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข


ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ

ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

       โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ

2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

- การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร

- การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่างๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน

- การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ

- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครงงานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น

- การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา

3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา

4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม



ขอบข่ายของโครงงาน

ดำเนินงานโดยนักเรียน เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และครูอาจารย์ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา

มีองค์ประกอบดังนี้

1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว

2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่

3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม

4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้

5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย


เครดิต

http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html
https://krudarin.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1/
https://www.gotoknow.org/posts/314100

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6 ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ


ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2555-2557 พร้อมเฉลย


ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2555 (สอบ ม.ค. 2555)



คณิตศาสตร์   >>>   คลิกที่นี่       เฉลย   >>>   คลิกที่นี่




ฟิสิกส์ + เฉลย   >>>   คลิกที่นี่


 เคมี + เฉลย   >>>   คลิกที่นี่


ชีววิทยา   >>>   คลิกที่นี่


ภาษาไทย   >>>   คลิกที่นี่


สังคมศึกษา   >>>   คลิกที่นี่


ภาษาอังกฤษ   >>>   คลิกที่นี่       เฉลย   >>>   คลิกที่นี่



ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2556 (สอบ ม.ค. 2556)




คณิตศาสตร์   >>>   คลิกที่นี่      
เฉลย ตอนที่ 1   >>>    คลิกที่นี่         ตอนที่ 2   >>>   คลิกที่นี่


ฟิสิกส์ + เฉลย   >>>   คลิกที่นี่


เคมี   >>>   คลิกที่นี่


ชีววิทยา   >>>   คลิกที่นี่


ภาษาไทย   >>>   คลิกที่นี่


สังคมศึกษา    >>>   คลิกที่นี่


ภาษาอังกฤษ + เฉลย   >>>   คลิกที่นี่



ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)



คณิตศาสตร์   >>>   คลิกที่นี่   เฉลย   >>>   คลิกที่นี่


ฟิสิกส์    >>>    คลิกที่นี่


เคมี    >>>    คลิกที่นี่      เฉลย   >>>   คลิกที่นี่


ชีววิทยา   >>>   คลิกที่นี่


ภาษาไทย   >>>   คลิกที่นี่


สังคมศึกษา   >>>   คลิกที่นี่


ภาษาอังกฤษ   >>>   คลิกที่นี่











เครดิต
http://p-dome.com/7-w-55-57/

ใบงานที่ 5 ค่านิยม 12 ประการ



       การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ ให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ

กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมไทย ๑๒ ประการ

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

1.1 เป็นพลเมืองดีของชาติ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ยืนตรงเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติและอธิบาย
ความหมายของเพลงชาติได้ถูกต้อง

1.2 ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น เข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดองที่เป็นประโยชน์ต่อ โรงเรียน ชุมชนและสังคม

1.3 ศรัทธา ยึดมั่น ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ (ศาสนาพุทธ) และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ

1.4 เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น มีส่วนร่วมหรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์




2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน 

2.1 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทายกาย วาจา ใจ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากความลำเอียง และปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้องละอายและเกรงกลัวต่อการ กระทำผิดและปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา

2.2 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทายกาย วาจา ใจ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อืนมาเป็นของตนเอง ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรงและไม่หาประโยชน์ในทางที่
ไม่ถูกต้อง




3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 

3.1 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงาน





4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม

4.1 ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ตั้งใจเรียน เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้ และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ

4.2 แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่าง
เหมาะสม บันทึกความรู้ วิเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่อ เทคโนโลยีต่างๆ แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม บันทึกความรู้ วิเคราะห์ ตรวจสอบจากสิ่งที่เรียนรู้ สรุปเป็นองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


 


5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย 

5.1 ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น แต่งกายและมีมารยาทงดงามแบบไทย มีสัมมาคารวะ กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย และชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นตามขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย

5.2 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง

5.3 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย พฤติกรรมบ่งชี้ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น นำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสมในวิถีชีวิต
ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและแนะนำ มีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาไทย





6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ 





7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย 





8. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 





9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ 

9.1 ตั้งใจและรับผิดชอบ มีสติ คิดรอบคอบ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ และปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยตนเอง

9.2 ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ทุ่มเททำงาน อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
พยายามแก้ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานให้สำเร็จ และชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ





10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

10.1 ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น เงิน สิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ อย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผลและไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิด

10.2 มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น วางแผนการเรียน การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ ข้อมูล
ข่าวสารและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข





11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ 





12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

12.1 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทน พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็มใจ อาสาทำงานให้ผู้อื่น
ด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทนและแบ่งปันสิ่งของ ทรัพย์สิน และอื่นๆและช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น

12.2 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม พฤติกรรมที่บ่งชี้ เช่น ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ เข้าร่วมกิจกรรม
ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสิ่งที่ดีงามของส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความกระตือรือร้น

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 4 พรบ.คอมพิวเตอร์

https://i1.wp.com/policeprinting.police.go.th/ppb/wp-content/uploads/2012/10/brn_com_2550.jpg


ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. คอมพิวเตอร์

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิ วเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุกวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ฉบับนี้และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์


ความผิดที่เข้าข่าย


การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ


1.การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิว เตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ

2.การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ

3.การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น


4.การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ


5.การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื ่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ


6.การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ข องคนอื่นโดยปกติสุข

7.การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเคร ื่องมือในการกระทำความผิด

8.การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี
การกระทำความผิด

9.การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล

10.เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้



สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย

2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว ่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเท อร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน

3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)

4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้


1. “ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็ บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้

2. ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตั วผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง



สรุป พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 ฉบับเข้าใจง่าย

1. เข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์

บทลงโทษ… จำคุก 6 เดือน

2. แอบเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และนำไปบอกผู้อื่น

บทลงโทษ… จำคุกไม่หนึ่งปี

3. แอบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์

บทลงโทษ… จำคุกไม่เกิน 2 ปี

4. ข้อมูลที่ถูกส่งให้กันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว แล้วไปแอบดักจับข้อมูล

บทลงโทษ … จำคุกไม่เกิน 3 ปี

5. แอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลของผู้อื่นอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์

บทลงโทษ … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

6. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงาน แต่ถ้ามีการปล่อย packet หรือ message หรือ virus หรือ


trojan หรือ worm เป็นต้น เข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อื่นเสียหาย

บทลงโทษ ....จำคุกไม่เกิน 5 ปี

7. ถ้ามีการส่งข้อมูลให้ผู้อื่นแต่ผู้นั้นไม่อยากรับ แต่ก็ยังมีการส่ง จนทำให้ผู้รับรำคาญ

บทลงโทษ… ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

8. ถ้ามีการทำผิด ในข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วทำให้เกิดความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า

(เช่น เข้าไปแก้ไข ทำลาย ก่อนกวน ระบบสาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยคอม)

บทลงโทษ... จำคุกตั้งแต่สิบปีขึ้นไป


9. ถ้าผู้ใดเขียนโปรแกรม หรือซอร์ฟแวร์ เพื่อให้ช่วยให้ผู้อื่นกระทำความผิดในข้อที่ 1-8

บทลงโทษ … จำคุกไม่เกิน1 ปี

10. ถ้ามีการเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ,ว่ากล่าวให้ร้ายผู้อื่น , หรือท้าทายอำนาจรัฐ

บทลงโทษ… จำคุกไม่เกิน 5 ปี

11. ผู้ใดเป็นเจ้าของเว็บไซด์ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10.

บทลงโทษ … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

12.มีการตัดต่อรูปภาพ และเผยแพร่

บทลงโทษ… จำคุกไม่เกิน 3 ปี

13. ถ้ามีการทำผิดซึ่งเว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอกแต่ถ้าคนไทยเป็นเจ้าของ

ถือว่ามีความผิด

14. เมื่อผู้ทำผิดที่ติดต่อเรา แต่บุคคลนั้นอยู่เมืองนอก เราเป็นคนไทย

สามารถเรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน






วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 3 บทความหรือสารคดีที่สนใจ


เทคนิคการเลือกซื้อเสื้อผ้าให้เหมาะกับรูปร่างและสีผิว

         คนเรามักจะมีความชอบเสื้อผ้าที่แตกแต่งกันและมีรูปร่าง สีผิว ที่แตกต่างกัน เสื้อผ้าที่คนอื่นใส่แล้วสวย ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะใส่ได้สวยเหมือนกัน การแต่งตัวควรเลือกจากลักษณะรูปร่างของตัวเองเป็นหลัก ควรเลือกใส่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่เหมาะกับตัวเอง นอกจากจะทำให้คุณดูดี มีรสนิยมแล้ว ยังทำให้ตัวคุณมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นด้วยคะ


การเลือกเสื้อผ้าตามสีผิว

1. คนที่ใบหน้าแดงเปล่งปลั่ง : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้า สีเขียวชาหรือสีเขียวแก่ ไม่เหมาะที่จะสวมใส่เสื้อสีเขียว สด มิฉะนั้นจะดูไม่ทันสมัย

2. คนที่ใบหน้าออกเหลือง : เหมาะที่จะสวมใส่เสื้อ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ไม่เหมาะที่จะสวมเสื้อสีน้ำเงินแก่ สีคราม สีกรมท่า มิฉะนั้นจะทำให้ใบหน้าดูเหลืองมากยิ่งขึ้น

3. คนที่มีสีหน้าอิดโรยผิดปกติ : เหมาะที่จะสวม เสื้อสีขาว เพื่อให้ดูมีสุขภาพดี ไม่เหมาะที่จะสวมเสื้อสีเทา สีม่วง จะทำให้ดูเหมือนอ่อนเพลียยิ่งขึ้น

4. คนที่มีสีผิวขาวเหลือง : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้าโทน สีอบอุ่นแลดูอ่อนโยน เช่น สีชมพู สีส้ม ไม่เหมาะที่จะ สวมเสื้อผ้าสีเขียวและสีเทาอ่อน มิฉะนั้นจะดูเหมือนเป็น คน ขี้โรค

5. คนที่มีสีผิวคล้ำ : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้าสีอ่อน สว่าง เช่น สีเหลืองอ่อน สีชมพูอ่อน     สีขาว เป็นต้น ซึ่งจะสะท้อนความสว่างของสีผิว

6. คนที่มีผิวไม่ละเอียด : เหมาะที่จะสวมเสื้อที่ทำจาก สิ่งทอที่มีหลากสี มีลายนูนเว้าบ้าง 
(เช่น ผ้าสักหลาดหยาบ เป็นต้น) ไม่เหมาะที่จะสวมเสื้อทำจากสิ่งทอสีอ่อนที่มี ลวดลายประณีต


การเลือกเสื้อผ้าตามรูปร่าง



1. เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะกับใบหน้าของคุณ

-คนหน้ากลม ต้องไม่เลือกเสื้อคอกลม ควรเลือกใส่เสื้อคอ V คอแบะหรือคอเปิด

-คนหน้าเหลี่ยม ควรเลือกใส่เสื้อคอ V   คอเสื้อ รูปตัว U หรือคอแบะ คอเปิด

-คนหน้ายาว ควรเลือกเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง

2. เลือกเสื้อที่สามารถแก้จุดด้อยของคอ

-คนคอสั้น ควรเลือกเสื้อคอเปิด คอแบะหรือเสื้อคอต่ำ

-คนคอใหญ่ ควรเลือกเสื้อที่มีคอแบบจีนคอตั้งหรือคอเสื้อที่แคบแต่ลึกและผูกผ้าพันคอ

-คนคอยาว ควรเลือก คอปกตั้งและผ้าพันคอที่พันชิดกับคอ

3. เลือกเสื้อผ้าที่ส่งเสริมจุดเด่น หลีกเลี่ยงจุดด้อย

-คนหน้าอกใหญ่ ควรเลือกเสื้อคอเปิดหรือคอต่ำหรือเสื้อหลวมที่มีไหล่ กว้าง

-คนหน้าอกเล็ก ควรเลือก เสื้อที่มีคอเปิดเป็นแนวเล็กยาวและเสื้อลายขวาง

-คนเอวสั้น ควรเลือกเสื้อคลุมเอวสูงที่จับจีบ หรือกระโปรง อัดพีท

-คนสะโพกแคบ ควรเลือกกางเกงทรงหลวม หรือกางเกงที่จีบด้านบน   กระโปรงจีบแบบหลวม หรือเสื้อแจ๊คเก็ตตัวหลวม

-คนสะโพกใหญ่   ควรเลือกกระโปรงหรือกางเกงที่พอดีตัวและมีส่วนโค้งส่วนเว้า เสื้อหรือเสื้อกล้ามต้องยาวคลุมสะโพก   ถ้าจะให้ดีกระโปรงควรมีกระดุมเล็กๆเป็นแถวยาวหรือมีรอยตะเข็บตรงกลาง

-คนที่ขาใหญ่     ควรเลือกกระโปรงที่ขอบเอวกระชับ แต่ด้านล่างหลวม กางเกงที่ด้านบนมีรอยจีบหรือขาตรงหรือจะเลือกกางเกงขาสั้นหรือกางเกงกระโปรงก็ได้

- คนขาสั้น ควรเลือกเสื้อที่เป็นสีเดียวกันหรือเสื้อ เอวลอย

- คนไหล่กว้างมาก ลองลดความแข็งบึกของช่วงไหล่โดยใช้เสื้อคอวี เสื้อสีเข้ม หรือเสื้อแบบที่ไม่โชว์ให้เห็นกระดูกว้างๆ

- ไหล่แคบ  สร้างความสมดุลทางสายตา ต่อความยาวให้ช่วงไหล่ โดยใช้เสื้อคอปาด คอกว้าง หรือเชิ้ตมีปก

- แขนใหญ่ หลีกเลี่ยงเสื้อที่มีเนื้อผ้ารัดรึงให้เห็นก้อนเนื้อยุ้ยบริเวณต้นแขน เสื้อที่ตัดเย็บด้วยผ้าเนื้อแข็งก็ไม่ควร จริงๆเสื้อแขนยาวเป็นเสื้อที่เหมาะกับสาวแขนใหญ่ แต่แขนสี่ส่วนก็เก๋ แขนกิโมโนกว้างๆก็ดีกับคนแขนใหญ่นะคะ

- อกเล็ก นอกจากต้องอาศัยบราดันทรงแล้ว เสื้อผ้าหรือแจ็กเก็ตสูทแบบมีกระเป๋าปะบริเวณอกก็ช่วยคุณได้ เสื้อแบบที่เรียกว่า Halter Neck หรือเสื้อที่มีสายผูกหรือแขวนที่คอ เส้นสายของวงแขนเว้าจากคอลงมา โชว์แขนโชว์ไหล่ เบี่ยงเบนความสนใจไปจากหน้าอก นับเป็นแบบที่ดีมากสำหรับคนอกเล็กคะ หรือว่าจะใช้เทคนิคมีผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ก็ได้

- หน้าอกใหญ่เกินไป  เลือกเสื้อท่อนบนสีเข้ม และเล่นเฉดให้เสื้อผ้าท่อนล่างสีอ่อนกว่าท่อนบน ทั้งนี้ทั้งนั้น ผ้าที่ใช้ควรเป็นผ้านิ่มพลิ้วมีน้ำหนัก ไม่ควรเลือกเสื้อที่มีทรงเป็นโครงดูแข็ง ใช้เสื้อคอวีจะดูดีกว่า

เทคนิคเล็กๆน้อยๆสำหรับสาวเจ้าเนื้อ ในการเลือกเสื้อผ้า


สาวเจ้าเนื้อก็สามารถสวยได้นะคะ ถ้าเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะกับตัวเอง ซึ่งมีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้คะ

- ควรเลือกใส่เสื้อผ้าสีเข้ม จะทำให้ดูผอมเพรียวกว่าเดิม

- ผ้าเนื้อมันจะช่วยเน้นสัดส่วน หากไม่อยากให้ไขมันส่วนเกินออกมาปรากฏโฉม ก็ให้หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าแบบนี้

- กระโปรงแซคที่เหมาะสม ควรจะเป็นทรงเอ หรือเอไลน์ จะช่วยพรางสะโพกได้

- กระโปรงทรงเอยาวเหนือเข่า จะช่วยพรางความอวบของช่วงขา

- สวมใส่เสื้อผ้าสีเดียวกันทั้งชิ้น ดีหว่าหลากสี

- คาดเข็มขัดเส้นเล็กต่ำ ๆ ใต้สะโพกจะช่วยหลบพุง

- เสื้อสูทกับรองเท้าส้นสูงช่วยให้ดูเรียว

- ผ้าเนื้อหาบอกลาไปซะ หันมาหาผ้าเนื้อบางเบาและทิ้งตัว

- เสื้อผ้าระบายฟูฟ่อง หรือลูกไม้ย้อยระย้า ม้นจะต้องตาแค่ไหน ก็อย่างไปซื้อมาใส่

- สีโทนพาสเทลหวาน ๆ ก็ไม่เหมาะกับสาวเจ้าเนื้อเหมือนกัน แต่หากอดใจไม่ไหว ให้เลือกใส่ส่วนใดส่วนหนึ่ง อย่าใส่ทั้งชุด

- กางเกงที่มีกระเป๋าเต็มไปหมด ก็ไม่ควรใส่ เพราะจะทำให้ดูตัวพองขึ้นมามากกว่าเดิม



การเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ


หุ่นทรงลูกแพร์

           รูปร่างส่วนล่างจะกว้างกว่าส่วนบน คือ ช่วงสะโพกจะกว้างกว่าช่วงไหล่ ฉะนั้นส่วนที่ดูดีที่สุดของร่างกาย ได้แก่ ไหล่ ช่วงตัว และหน้าท้องแบนราบ

การแต่งตัวที่ทำให้ดูดี ควรเน้นช่วงเอว แขนและไหล่ จะทำให้สะโพกดูเล็กลงได้ค่ะ

เคล็ดลับในการเลือกเสื้อผ้า

  1. เลือกใส่กระโปรงลายทางเพื่อเป็นการอำพรางสะโพกให้ดูเล็กลง
  2. เลือกสวมใส่เสื้อสีอ่อนและสีเข้มให้ตัดกันเพื่อความสวยงาม
  3. เลือกเสื้อที่มีปกคอเป็นแบบเหลี่ยมหรือ cowl necklines
  4. เลือกสวมเสื้อที่ไม่มีสายระโยงระยางเพื่อโชว์ส่วนแขน และช่วงตัว
  5. เลือกสวมแจ็คเก็ตที่มีความยาวเหนือเอวขึ้นไป
  6. ควรสวมรองเท้าส้มแหลมเพื่อให้ช่วงขาดูเรียวยาวขึ้น
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. ไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่ดึงความสนใจไปที่สะโพกและต้นขา เช่น กางเกงคาร์โก และกระโปรงอัดกลีบ เป็นต้น
  2. ไม่ควรสวมกางเกงหรือกระโปรงบาน เพื่อทำให้สะโพกดูมีความสมดุล

 หุ่นทรงพีระมิดคว่ำ

           สาวๆ รูปร่างทรงนี้จะมีไหล่และหน้าอกที่กว่ากว่าช่วงสะโพก ส่วนที่ดูดีที่สุดในร่างกาย คือ ส่วนขา

การแต่งตัวที่ทำให้ดูดี เลือกใส่เสื้อผ้าที่ช่วยอำพรางช่วงอกให้ดูเล็กลง แต่ให้เน้นสนใจไปที่สะโพกแทน

เคล็ดลับในการเลือกเสื้อผ้า


  1. เลือกสวมเสื้อผ้าที่เน้นช่วงสะโพก อย่างเสื้อผ้าแบบ peplums และกางเกงกระโปรงที่มีกระเป๋า
  2. เลือกสวมใส่เสื้อผ้าให้ท่อนล่างมีสีสันสดใส
  3. เลือกสวมเสื้อแขนประมาณข้อศอก หรือคอวี ซึ่งจะช่วยนำสายตามไปสู่ท่อนล่างของร่างกายได้
  4. เลือกใส่กระโปรงบานเพื่อให้รูปร่างดูสมดุล หรือกระโปรงที่แนบลำตัวเพื่อเน้นช่วงสะโพกไปเลย
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. ไม่ควรสวมเสื้อคอกว้างหรือคอปาด ที่เน้นจุดสนใจไปยังช่วงไหล่จะทำให้ไหล่ดูกว้าง
    มากขึ้น
  2. ไม่ควรสวมเสื้อที่มีกระเป๋าเสื้อ หรือของประดับตกแต่งท่อนบนมากเกินไป
  3. ไม่ควรสวมเสื้อที่โชว์ตะเข็บหรือระบายที่คอ
  4. ไม่ควรสวมเสื้อที่มีจีบระบายรอบตัว
  5. ไม่ควรสวมกระโปรงสั้น และกระโปรงกางเกงทรงกระสอบที่ทำให้ท่อนล่างดูเล็ก
    จะทำให้ท่อนบนยิ่งดูใหญ่ขึ้น

 หุ่นทรงสี่เหลี่ยม

          สาว ๆ รูปทรงสี่เหลี่ยมจะมีช่วงเอวและสะโพกที่เท่ากัน เอวไม่ค่อยคอดสักเท่าไหร่ มักมี
รูปร่างบาง ส่วนที่ดูดีที่สุดในร่างกาย คือ ส่วนแขนและขา และที่สำคัญคือไม่ต้องอำพรางจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายเลย เพียงแต่เลือกเสื้อผ้าที่เน้นช่วงเอว และอวดเรียวแขนเรียวขาของคุณ


เคล็ดลับในการเลือกเสื้อผ้า


  1. เลือกสวมเสื้อยืดคอผ่า มีจีบระบาย หรือมีของประดับประดาที่คอเสื้อ เพื่อดึงจุดสนใจมาที่ส่วนบนของร่างกาย
  2. เลือกสวมแจ็คเก็ต หรือเสื้อคลุมที่ชายเสื้อตกลงที่ช่วงเอวพอดี
  3. เลือกสวมเสื้อผ้าที่มีกระเป๋าหลัง ตัดเย็บโชว์ตะเข็บ และมีลูกไม้ประดับที่บริเวณอกและสะโพก
  4. เลือกใส่กระโปรงทรงเอวลีบชายกระโปรงบาน (flared skirt) กระโปรงจีบรอบ จะช่วยให้เอวดูเล็กลงได้
  5. สำหรับสาว ๆ ที่มีความสูงไม่มากนักให้เลือกจับคู่กระโปรงหรือกางเกงขาสั้นกับเสื้อที่มีลวดลายแนวยาว
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. ไม่ความสวมเสื้อผ้าที่มีลวดลายหรือสีสันตรงช่วงเอว
  2. เสื้อผ้าแนวที่ต้องโชว์เข็มขัด
  3. เสื้อผ้าทรงกระสอบ

หุ่นทรงพีระมิด

            รูปร่างท่อนล่างกว้างกว่าท่อนบน ช่วงไหล่ค่อนข้างแคบ สะโพกผาย ซึ่งรอบสะโพกจะมากกว่ารอบอก การเลือกเสื้อผ้าควรเลือกสวมอำพรางท่อนล่างทั้งสะโพกและต้นขาให้ดูเล็กลง และเน้นท่อนบน เพื่อสร้างความสมดุลค่ะ

เคล็ดลับในการเลือกเสื้อผ้า

  1. เลือกสวมเสื้อผ้าที่มีรายละเอียดตกแต่งอยู่ที่ท่อนบน เพื่อดึงสายตามายังท่อนบน
  2. เลือกสวมเสื้อที่มีปกหรือลูกเล่นที่คออย่างเสื้อคอกล้าง หรือคอปาด
  3. สวมเสื้อท่อนบนให้คลุมทับ หรืออยู่เหนือส่วนที่กว้างที่สุดของสะโพก
  4. เลือกใส่กระโปรงยาวเหนือเข่า หรือปิดเข่าลงมา
  5. อำพรางสะโพกและต้นขาด้วยเสื้อผ้าท่อนล่างสีเข้ม
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. ไม่ควรเลือกสวมกระโปรงมีจีบ หรือกางเกงที่มีกระเป๋าหลังโชว์ตะเข็บ จะทำให้สะโพก
    ยิ่งดูใหญ่มากขึ้น
  2. ไม่ควรเลือกสวมเสื้อที่มีความยาวตกตรงสะโพกพอดี จะทำให้ไปเน้นที่สะโพกมากเกินไป
  3. ไม่ควรสวมเสื้อแขนศอก เนื่องจากจะนำสายตาไปยังท่อนล่างของร่างกาย
  4. กางเกงหรือกระโปรงที่มีกระเป๋าบริเวณด้านนอกสะโพกแบบที่โชว์ตะเข็บ และมีลวดลายเป็นแถบรอบสะโพก

หุ่นทรงนาฬิกาทราย

             รอบอกและรอบสะโพกที่เท่ากันที่สำคัญ คือ มีเอวที่คอดเว้า เป็นรูปร่างที่สาวๆหลายๆคนใฝ่ฝันเลยทีเดียว การเลือกสวมเสื้อผ้าสำหรับสาวรูปร่างนี้แทบจะไม่มีความยุ่งยากเลย เพียงแค่เลือกสวมเสื้อผ้าที่เน้นโชว์สัดส่วนของร่างกายได้ดี โดยไม่เน้นให้ส่วนใดส่วนหนึ่งใหญ่เกินความจริง

เคล็ดลับในการเลือกเสื้อผ้า

  1. เลือกสวมเสื้อผ้าที่มีการตกแต่งลวดลาย หรือสีตัดกัน เพื่อเป็นการเน้นรูปร่างได้ชัดเจน
  2. หากคุณเป็นคนที่ไม่สูงมากนัก การเลือกเสื้อผ้าที่มีลายแนวยาวจะช่วยทำให้คุณดู
    สูงขึ้นได้
  3. การประดับตกแต่งของเสื้อผ้าท่อนบนและท่อนล่างควรสมดุลกัน
  4. เลือกสวมกางเกงขากระบอก หรือกระโปรงทรงดินสอ
  5. เลือกสวมใส่เสื้อพอดีตัวกับกระโปรงบาน
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. เสื้อผ้าที่เน้นการประดับตกแต่งบริเวณหน้าอก
  2. เสื้อผ้าทรงกระสอบที่ปิดบังสัดส่วน
  3. หากคุณเป็นคนตัวเล็กต้องเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีลวดลายขนาดใหญ่ ลายตารางใหญ่หรือเสื้อที่หลวมเกินไป และกางเกงหรือกระโปรงที่ยาวจนเกินไป

เพียงเท่านี้ไม่ว่าคุณจะมีรูปร่างแบบไหนก็สามารถดูดีได้ในแบบของคุณค่ะ