วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 4 พรบ.คอมพิวเตอร์

https://i1.wp.com/policeprinting.police.go.th/ppb/wp-content/uploads/2012/10/brn_com_2550.jpg


ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. คอมพิวเตอร์

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิ วเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุกวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ฉบับนี้และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์


ความผิดที่เข้าข่าย


การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ


1.การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิว เตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ

2.การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ

3.การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น


4.การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ


5.การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื ่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ


6.การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ข องคนอื่นโดยปกติสุข

7.การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเคร ื่องมือในการกระทำความผิด

8.การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี
การกระทำความผิด

9.การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล

10.เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้



สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย

2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว ่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเท อร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน

3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)

4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้


1. “ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็ บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้

2. ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตั วผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง



สรุป พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 ฉบับเข้าใจง่าย

1. เข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์

บทลงโทษ… จำคุก 6 เดือน

2. แอบเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และนำไปบอกผู้อื่น

บทลงโทษ… จำคุกไม่หนึ่งปี

3. แอบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์

บทลงโทษ… จำคุกไม่เกิน 2 ปี

4. ข้อมูลที่ถูกส่งให้กันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว แล้วไปแอบดักจับข้อมูล

บทลงโทษ … จำคุกไม่เกิน 3 ปี

5. แอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลของผู้อื่นอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์

บทลงโทษ … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

6. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงาน แต่ถ้ามีการปล่อย packet หรือ message หรือ virus หรือ


trojan หรือ worm เป็นต้น เข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อื่นเสียหาย

บทลงโทษ ....จำคุกไม่เกิน 5 ปี

7. ถ้ามีการส่งข้อมูลให้ผู้อื่นแต่ผู้นั้นไม่อยากรับ แต่ก็ยังมีการส่ง จนทำให้ผู้รับรำคาญ

บทลงโทษ… ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

8. ถ้ามีการทำผิด ในข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วทำให้เกิดความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า

(เช่น เข้าไปแก้ไข ทำลาย ก่อนกวน ระบบสาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยคอม)

บทลงโทษ... จำคุกตั้งแต่สิบปีขึ้นไป


9. ถ้าผู้ใดเขียนโปรแกรม หรือซอร์ฟแวร์ เพื่อให้ช่วยให้ผู้อื่นกระทำความผิดในข้อที่ 1-8

บทลงโทษ … จำคุกไม่เกิน1 ปี

10. ถ้ามีการเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ,ว่ากล่าวให้ร้ายผู้อื่น , หรือท้าทายอำนาจรัฐ

บทลงโทษ… จำคุกไม่เกิน 5 ปี

11. ผู้ใดเป็นเจ้าของเว็บไซด์ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10.

บทลงโทษ … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

12.มีการตัดต่อรูปภาพ และเผยแพร่

บทลงโทษ… จำคุกไม่เกิน 3 ปี

13. ถ้ามีการทำผิดซึ่งเว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอกแต่ถ้าคนไทยเป็นเจ้าของ

ถือว่ามีความผิด

14. เมื่อผู้ทำผิดที่ติดต่อเรา แต่บุคคลนั้นอยู่เมืองนอก เราเป็นคนไทย

สามารถเรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น